วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

เอกสารด้านการสอนคำสอนของพระศาสนจักร

1. คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไป  (GCD) – 1971

          การประชุมสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2  วินิจฉัยว่าคู่มือแนะแนวสำหรับการสอนคำสอนของคริสตชนถูกร่างขึ้น  เพื่อประสานและทำให้กิจกรรมเกี่ยวกับคำสอนของพระศาสนจักรมีชีวิตชีวาขึ้น        กฎเรื่องสำนักงานอภิบาลของสังฆราชในพระ
ศาสนจักรกำหนดว่า คู่มือแนะแนวทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลวิญญาณต้องได้รับการอนุมัติให้นำไปใช้  โดยพระสังฆราชและพระสงฆ์ในเขตปกครอง (1)  ผลก็คือเพื่อที่จะปรับกิจกรรมเกี่ยวกับคำสอนของพระศาสนจักรสากล  หลังจากที่ได้ศึกษาและปรึกษามาเป็นระยะเวลานาน   คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไป  ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1971โดยสมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์   เอกสารของพระศาสนจักรคาทอลิกนี้ปูทางเพื่อการปรับปรุงวาระของการสอนคำสอนในพระศาสนจักรทั้งมวล  การปรับคู่มือคำสอนให้เหมาะสมในเบื้องต้น  เพื่อให้การอบรมและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการประสานงาน  และการทำให้กิจกรรมคำสอนของพระศาสนจักรมีชีวิตชีวาขึ้น
          ในปี ค.ศ. 1964  พระศาสนจักรในประเทศฝรั่งเศสได้พิมพ์คู่มืออภิบาลคำสอนชื่อว่า  La Directoire de Pastoral Cateehetique2  ระยะเวลาไม่นานก่อนการตีพิมพ์ คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไป  ในปี ค.ศ. 1970 การประชุมของพระสังฆราชชาวอิตาเลียนได้ตีพิมพ์คู่มือการสอนคำสอนชื่อ  Il rennovamento della catechesi (การฟื้นฟูการสอนคำสอน) ทันทีหลังจากการตีพิมพ์คู่มือภาษาอิตาเลียน  ได้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า  การปรับปรุงการศึกษาข้อความเชื่อใหม่   และได้รับการยอมรับจากสภาพระสังฆราชแห่งออสเตรเลีย  ซึ่งได้เพิ่มเติมบทเสริมเน้นเรื่องโรงเรียนคาทอลิกออสเตรเลีย   คู่มือทั้ง 2 เล่มนี้เป็นการอภิบาล และให้แนวทางมากกว่าคู่มือ   คู่มือทั้ง 2 นี้ได้มีอิทธิพลต่อการเขียนของคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไป   คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไปถูกตีพิมพ์ในวันอาทิตย์ปัสกา   วันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1971 และเป็นผลของการประชุมใหญ่เกี่ยวกับการสอนคำสอนสากล  ซึ่งประชุมในกรุงโรมเมื่อวันที่ 20 – 25 กันยายน ค.ศ. 1971 เพื่ออภิปรายคู่มือแนะแนวและสภาพการสอนคำสอนในพระศาสนจักร
1.1 การประพันธ์คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน
สภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2  เสนอแนะการพิมพ์คู่มือแนะแนวการสอนคำสอน  และงานนี้ถูกมอบหมายให้แก่สมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1966 ในเวลานั้นสมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์มีพระคาร์ดินัล  Jean Villot เป็นประธาน  ซึ่งเข้าร่วมประชุมในสัปดาห์แห่งการศึกษาคำสอนสากลที่เมือง Medellin  (ประเทศโคลอมเบีย)  ในปี ค.ศ. 1968 ภายใต้การนำของท่าน  มีพระสังฆราช 8 องค์ ได้พบปะกันในกรุงโรมในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1968 เพื่อวางแผนจัดทำคู่มือ   ทั้ง 8 ท่าน นั้นประกอบด้วยพระสังฆราช Anthyme Bayala แห่งวอลตาตอนบน, อัฟริกา พระสังฆราช  Benitez  แห่ง Vilarrica ประเทศปารากวัย ;  Canon Joseph Bournique จากปารีส, ประเทศฝรั่งเศส ;  มองซินญอร์  Aldo Del Monte จากอิตาลี ;  Reverend Robert Gaudet  จากประเทศแคนาดา  มองซินญอร์  Russel Neighbour จากสหรัฐอเมริกา Reverends Klemens Tilmann และ A. Zenner จากเยอรมัน  ในการปรึกษากับสมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์ สมณกระทรวงเพื่อพระสัจธรรมของความเชื่อ  และสมณกระทรวงเพื่อพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์   คณะกรรมการนี้เตรียมคู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน   คู่มือนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพระสังฆราช  สภาพระสังฆราชและโดยทั่วไปสำหรับทุกคนที่อยู่ภายใต้การนำ   และทิศทางการนำของพระสังฆราชผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับงานคำสอน   จุดประสงค์ของคู่มือนี้ก็เพื่อจัดเตรียมหลักการพื้นฐานของเทววิทยาด้านการอภิบาล โดยงานอภิบาลในศาสนบริการด้านพระวาจา  สามารถกำหนดและควบคุมได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
1.2 โครงสร้างของคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไป(GCD)     
คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไปแบ่งออกเป็น 6 ตอน
ตอนที่ 1     กล่าวถึงความเป็นจริงของปัญหา และภาพรวมของสถานการณ์ในโลกและภายในพระศาสนจักร  ตอนนี้พูดเกี่ยวกับการปรับสภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 ให้เหมาะสม โดยความเคารพต่อการรับรองต่อไปว่าพระศาสนจักรและโลกต้องมีการเสวนา   เพราะว่าต่างฝ่ายต่างเสริมสร้างและท้าทายซึ่งกันและกัน 
ตอนที่ 2     ของคู่มือแนะแนวการสอนคำสอนทั่วไปกำหนดการสอนคำสอนเป็น ศาสนบริการพระวาจา  ตามบทบาทของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และการประกาศพระวรสาร  ศาสนบริการพระวาจาแสดงออกด้วยคำพูดถึงประเพณีการดำเนินชีวิตของพระศาสนจักร  เป้าหมายของศาสนบริการนี้คือ กระตุ้นความเชื่อที่มีชีวิต  ซึ่งหันจิตใจสู่พระเจ้า  กระตุ้นการปฎิบัติตามด้วยการกระทำนำไปสู่ความรู้ที่มีชีวิต  ในการแสดงออกซึ่งประเพณีและพูด  แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสำคัญที่แท้จริงของโลกและการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ 
ตอนที่ 3     เป็นเค้าโครงเนื้อหาของคำสอนและเริ่มจากทัศนะของพระธรรมล้ำลึกแห่งการไถ่กู้ที่พบในพระคัมภีร์  และการดำเนินประเพณีของพระศาสนจักรอย่างต่อเนื่อง   คำอธิบายของเนื้อหาเป็นเหตุการณ์ไปสู่การเผยแสดง 
ตอนที่ 4     เป็นเรื่องเกี่ยวกับ องค์ประกอบของทฤษฎีการสอน  และพื้นฐานสู่ความสำคัญของครูสอนคำสอน  ครูคำสอนทำหน้าที่ในบทบาท 2 ด้าน ในฐานะของแบบอย่างความเชื่อและในฐานะมืออาชีพ  ลำดับที่เหมาะสมของสิ่งที่จดจำ  การสร้างสรรค์ของผู้เรียนคำสอนและกลุ่ม
ตอนที่ 5     คำนึงถึงเรื่องการสอนคำสอนตามระดับอายุการสอนคำสอนเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต และเกิดขึ้นในระดับอายุที่สืบต่อกันเป็นลำดับ  ซึ่งสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและการบรรลุวุฒิภาวะของผู้ฟังพระวาจา  ซึ่งเข้าใจความเชื่อและคำถามเกี่ยวกับชีวิตในหลากหลายรูปแบบตามระดับพัฒนาการของพวกเขา 
ตอนที่ 6     ตอนที่สำคัญลำดับสุดท้าย   เป็นการทำงานร่างคู่มือแนะแนวก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 1969 เกี่ยวกับเครื่องมือช่วยสอนคำสอนและทรัพยากรซึ่งส่งเสริมงานสอนคำสอน  ดำเนินต่อเนื่องจากสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2  เกี่ยวข้องในการทำให้เกิดความปลอดภัยในการปฎิสัมพันธ์  ระหว่างพระศาสนจักรทั่วโลกและการประชุมของพระสังฆราช  เพื่อความมุ่งหมายในการวางโครงการเกี่ยวกับการสอนคำสอนเพื่ออนาคต  
ตอนสุดท้าย     เป็นคำตอบต่อการโต้แย้งคำสั่งของการรับศีลมหาสนิทครั้งแรกและการใช้โทษบาป
1.3  ความสำคัญเกี่ยวกับวิชาครูคริสตศาสนธรรมของ GCD
ความเข้มข้นของคู่มือแนะแนวเป็นเรื่องเกี่ยวกับการอภิบาล  นำมาปฎิบัติได้และเป็นกาพย์กลอนด้วย  ผู้อ่านพบว่ามันเป็นการช่วยเหลือและน่าสนใจ  คู่มือแนะแนวการสอนแสดงเป้าหมายของการสอนคำสอน   คำสอนเหมือนกับความเชื่อเจริญเต็มที่  วาดภาพเหมือนของใบหน้าคนที่มีความเชื่อ  เหมือนกับของขวัญที่ลึกซึ้งและลึกลับซึ่งอยู่ในชีวิตของคริสตชน โดยปราศจากความเต็มใจหรือการคาดหวัง  ความลึกลับของความเชื่อทำงานในชีวิตของคริสตชนในภาพรวมของบุคคล   การเยียวยาการพัฒนาความเชื่อของคู่มือแนะแนวการสอนคำสอน  เผยให้เห็นความก้าวหน้าในคำบรรยายพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษย์  ในฐานะของคนซึ่งเจริญเติบโตในความเชื่อ  การทำงานเกี่ยวกับการสอนคำสอนได้ถูกค้นพบใหม่ในฐานะของการทำงานเกี่ยวกับพระวาจา  ซึ่งต้องการการกลับคืนไปสู่แหล่งต้นกำเนิด : พระคัมภีร์และพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์  การสนับสนุนที่สำคัญของคู่มือ คือ ทำให้เอกสารของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เป็นพื้นฐานของการทำงานเกี่ยวกับวิชาครูสอนคำสอนแนวใหม่   เอกสารของสภาจำนวน 14 ฉบับ  จาก 16 ฉบับ ถูกอ้างถึงในเนื้อหาและมีการอ้างอิงถึงเกือบ 150 ครั้ง ใน 134 บทความของคู่มือ
GCD แสดงให้เห็นมิติของการสอนคำสอนเกี่ยวกับมนุษย์  และทำให้พระศาสนจักรเกิดการเปลี่ยนแปลง  จากรูปแบบการสอนคำสอนแบบดั้งเดิมมาเป็นแบบประสบการณ์  ซึ่งเน้นสถานการณ์จริงของคนและความเชื่อของเขา  แสดงให้เห็นประสบการณ์ของมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางของการสอนคำสอน  และกล่าวว่าประสบการณ์ดังกล่าวช่วยทำให้  “ข่าวสารของคริสตชนสามารถเข้าใจได้มากขึ้น  เน้นเรื่องความสำคัญของการสอนคำสอนผู้ใหญ่  และยืนยันว่าเป็น  “รูปแบบสำคัญของการสอนคำสอนจุดอ่อนประการหนึ่งของคู่มือ ก็คือ ไม่เน้นมิติของความยุติธรรมของการสอนคำสอน  การสอนคำสอนไม่ใช่งานที่ครุ่นคิดถึงตนเอง  การทำให้ครูสอนคำสอนศักดิ์สิทธิ์  มีศรัทธาแก่กล้าและเคร่งในศาสนา  แต่โดยพื้นฐานแล้วเป็นการกระทำที่คิดถึงผู้อื่น  ทำให้การสอนคำสอนใช้ประโยชน์ในการบริการผู้อื่นด้วยความรัก

2. พิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน  - 1972
เอกสารสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2  เรื่องพิธีกรรม  Sacrosanctum Concilium เรียกร้องให้มีการพิจารณาแก้ไขพิธีการล้างบาปสำหรับผู้ใหญ่  และการกลับคืนดีของการเตรียมเป็นคริสตชน   การเตรียมตัวเป็นคริสตชนสำหรับผู้ใหญ่ประกอบด้วยขั้นตอนชัดเจนหลายขั้น  เพื่อทำให้กลับคืนสภาพเดิมและนำมาใช้ในการไตร่ตรองของผู้ใหญ่  ที่มีอำนาจปกครองของพระศาสนจักรท้องถิ่น  โดยเหตุนี้หมายความว่าช่วงเวลาของการเรียนคำสอนเพื่อเตรียมตัวเป็นคริสตชน  ซึ่งมีเจตนาให้เป็นระยะเวลาของการสอนที่เหมาะสม  อาจจะทำให้ศักดิ์สิทธิ์ด้วยศาสนพิธีศักดิ์สิทธิ์  ที่ประกอบในช่วงระยะห่างของเวลาตามลำดับ   ต่อหน้าคณะที่ปรึกษาผู้ใหญ่ที่ประสงค์จะเป็นคาทอลิก  ได้รับการแนะนำจากพระสงฆ์เจ้าอาวาส  และรับศีลล้างบาปในพิธีเป็นส่วนตัวท่ามกลางเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว  ภายหลังการประชุมสังคายานาวาติกันครั้งที่ 2 กระบวนการเริ่ม ปฏิรูปพิธีการล้างบาปสำหรับผู้ใหญ่  สมณกระทรวงเพื่อพิธีกรรม Divine worship ได้เตรียมเอกสารพิธีการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน  และสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ได้ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1972  เอกสารนี้จัดทำขึ้นสำหรับชุมชนคริสตชนทั่วโลก  ได้บรรยายกระบวนการสอนคำสอน  พิธีกรรมสำหรับการเตรียมตัวและการรับผู้ใหญ่หรือเด็กเข้าสู่พระศาสนจักร
2.1 โครงสร้างของพิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ( RCIA)
พิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน (RCIA) ถูกแบ่งเป็น 2 ภาค    ภาคแรก  กล่าวด้วยพิธีการรับสมาชิกใหม่ที่เป็นผู่ใหญ่  ภาคนี้บรรยาย ถึงศาสนบริการ  ตำแหน่ง หน้าที่  เวลา และสถานที่ของการรับสมาชิกใหม่และการดัดแปลงให้เหมาะสม  ในพิธีนี้สามารถทำได้โดยสภาพระสังฆราช   พระสังฆราชท้องถิ่นและพระสงฆ์  พี่เลี้ยง พ่อแม่ทูนหัว   พระสังฆราช  พระสงฆ์  สังฆานุกร และครูสอนคำสอนมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการเตรียมตัวผู้สมัคร
ภาคสอง  ของพิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน  กล่าวถึงขอบข่ายของการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน  พิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนพิจารณาการเริ่มเป็นคริสตชนว่า  เป็นกระบวนการที่ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ระยะของการเปลี่ยนแปลง  แบ่งระยะของการเปลี่ยนแปลงเป็น 4 ระยะ   ระยะแรกที่สุด เป็นระยะของการสืบสวนซึ่งจบด้วยพิธีของการยอมรับของผู้เตรียมตัวเข้าเป็นคริสตชน    ระยะที่ 2 ระยะของผู้เตรียมตัวเป็นคริสตชน ซึ่งเริ่มด้วยพิธีของการยอมรับและตามด้วยการสอนคำสอน  จนกระทั่งถึงพิธีการของการเลือกสรร    ระยะที่ 3  ระยะของความสำเร็จ (ความสว่าง) ซึ่งเริ่มด้วยการเตรียมตัวรับศีล  เพื่อการฉลองปัสกาและการรับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชน    ระยะที่ 4  ระยะของการสอนคำสอนหลังการรับศีลล้างบาป  และระยะนี้ขยายออกไปตลอดเทศกาลปัสกา   ในแต่ละขั้นตอนของทั้ง 4 ขั้น  รวมถึงการสอนคำสอนเกี่ยวกับสัญลักษณ์  พระคัมภีร์และบทสวดภาวนา   คำสอนเกี่ยวกับประเด็นศีลธรรม  คำสั่งสอน  ความยุติธรรม  การสวด ชุมชน และความสัมพันธ์ของพวกเขาในการดำเนินชีวิตประจำวันถูกสานอยู่ในทั้ง 4 ขั้นตอนนี้
          2.2 ความสำคัญของการสอนคำสอนในพิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน
          พิธีการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนเปลี่ยนรูปแบบการสอนแบบส่วนตัว  เป็นการสอนคำสอนสร้างชุมชน  บรรยายการเริ่มเข้าอยู่ในชุมชนคริสตชน  การเดินทางของการเปลี่ยนแปลงซึ่งชุมชนคริสตชนมีบทบาทสำคัญ  ในการสอนคำสอนชุมชนมีส่วนแบ่งปันเกี่ยวกับประเพณี  ซึ่งได้รับตกทอดมา ประวัติศาสตร์  พิธีกรรมทางศาสนา  ชีวิต  ความหมายและคุณค่า  ครูคำสอนซึ่งอยู่ในชุมชน เป็นสัญลักษณ์ของพระธรรมล้ำลึกแห่งการไถ่กู้  หลักความเชื่อ สู่ความสมัครใจ    เพื่อว่าจะได้ไม่ใช่เป็นเพียงคำสั่งสอนที่พวกเขาจะได้เรียนรู้เท่านั้น  แต่เป็นการประกาศความเชื่อที่จะต้องดำเนินชีวิต   พิธีการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนให้ความรู้เรื่องคำสอน  เป็นกระบวนการที่ค่อยๆ ขยับผ่านไปในระยะหรือขั้นตอนต่างๆ  หรือผ่านเสาประตูทั้ง 2 ข้าง  ที่แบ่งกระบวนการสอนคำสอนออกเป็น 4 ระยะ  และชี้ให้เห็นความสำคัญทางพิธีกรรมในคำสอน  พิธีการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนเป็นพิธีที่พิเศษ  ซึ่งเป็นพิธีเดียวที่จัดให้มีมิติของการสอนคำสอน และพิธีกรรมในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง  แสดงให้เห็นความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างคำสอนและพิธีกรรม  โดยทางโครงสร้างของวงจรการสอนคำสอนและพิธีกรรม  “ รูปแบบของการสอนคำสอนที่แสดงให้เห็นในพิธีการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน  เป็นตัวแทนของการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนคำสอนที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 20  รวมความเข้าใจในเรื่องของสัปดาห์แห่งการศึกษาคำสอนจาก Eichstatt  (เมืองไอชแตก)  ไปสู่ Medellin  (เมืองเมเดลลิน)
3. การประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน – 1975
คำชักชวนในการประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบันของสมเด็จพระสันตะปาปา  ถูกประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6  เมื่อวันที่  8 ธันวาคม ค.ศ. 1975  การฉลองปีที่ 10  ของการปิดประชุมสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2  และหนึ่งปีต่อจากนั้นท่านได้เรียกประชุมสมัชชาพระสังฆราช  เพื่อกำหนดหัวข้อการประกาศ พระวรสารให้เฉพาะเจาะจง  การประชุมสมัชชาพระสังฆราชในปี ค.ศ. 1974 อภิปรายการประกาศพระวรสารเป็นงานในพระศาสนจักร   พระสังฆราชที่เข้าร่วมประชุมสมัชชาร้องขอให้สมเด็จพระสันตะปาปาได้พูดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสมัชชา  และให้แนวทางเพื่อการประกาศพระวรสารต่อพระศาสนจักรโดยรวม  การประชุมสมัชชาพระสังฆราชปี  ค.ศ. 1974 ไม่ได้จัดทำแนวทางการประกาศพระวรสารเป็นลายลักษณ์อักษร  แต่พระสังฆราชสนับสนุนพระสันตะปาปาให้กำหนดทิศทางของเทววิทยา  การอภิบาลในเรื่องการประกาศพระวรสาร  และการประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบันจึงเกิดขึ้น  ข้อแนะนำของสมเด็จพระสันตะปาปาอุทิศทั้งหมดต่อหัวข้อของการประกาศพระวรสาร  เป็นหนึ่งในเอกสารพิเศษที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20
          ในหนทางหนึ่งผู้เขียนเอกสารนี้คือการประชุมสมัชชาพระสังฆราชในปี ค.ศ. 1974 แต่สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 เป็นผู้แต่งของหนังสือการประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน  สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า  พระองค์เขียนเอกสารนี้เพื่อรับรองผู้ที่กำลังประกาศพระวรสาร  และเพื่อสนับสนุนพวกเขาในพันธกิจ   พระองค์ต้องการผู้ประกาศพระวรสารในเวลาแห่งความไม่แน่นอนและสับสนนี้  เพื่อทำให้งานนี้สำเร็จด้วยความรัก  ความกระตือรือร้นและความชื่นชมมากยิ่งขึ้น เป้าหมายของเอกสารนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นหนทางที่พระศาสนจักรในปลายศตวรรษที่ 20 สามารถประกาศพระวาจาอย่างมีประสิทธิผล โดยผ่านทางงานเตรียมประกาศพระวรสาร  การป่าวประกาศและการสอนคำสอน  การประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบันถูกเขียนขึ้นอย่างไตร่ตรอง  เพื่อให้การช่วยเหลือและความมั่นใจต่อทุกคน  ซึ่งเอาใจใส่ต่องานที่สำคัญของพระศาสนจักรในการประกาศพระวรสาร  ความหวังของสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ทั้งก่อนและหลังจากการตีพิมพ์คำแนะนำนี้  ก็เพื่อกระตุ้นความสนใจและศรัทธาแรงกล้าสำหรับงานประกาศพระวรสาร  เพื่อว่า โลกในยุคของเราซึ่งกำลังแสวงหา  บางครั้งด้วยความปวดร้าว บางครั้งด้วยความหวัง  จะได้สามารถรับข่าวดีไม่ใช่จากผู้ประกาศพระวรสาร  ซึ่งเศร้าสลด ท้อแท้ เบื่อหน่ายหรือเป็นทุกข์  แต่จากผู้ที่ทำงานด้านพระวาจาซึ่งมีชีวิตที่รุ่งโรจน์ด้วยความศรัทธาแรงกล้า  ได้รับความสุขจากองค์พระคริสตเจ้ามาก่อน  และผู้ซึ่งมีความเต็มใจที่จะเสี่ยงชีวิตของเขาเพื่อว่าพระอาณาจักรจะได้รับการประกาศและพระศาสนจักรจะได้ตั้งอยู่ในท่ามกลางโลก
3.1 โครงสร้างของการประกาศพระวรสารในโลกยุคปัจจุบัน
          หนังสือการประกาศพระวรสารในโลกยุคปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็น 7 บท   เริ่มต้นด้วยการตั้งศูนย์กลางของการประกาศพระวรสารที่พระเยซูคริสตเจ้าและพระศาสนจักร  การประกาศพระวรสารไม่สามารถที่จะเป็นที่เข้าใจได้  หากไม่ได้มีการอ้างอิงถึงพระเยซูคริสตเจ้า  หรือไม่สามารถได้รับการยอมรับนอกเหนือจากพระศาสนจักร  เพราะมันเป็นพันธกิจของพระศาสนจักร
บทที่ 2     ของหนังสือการประกาศพระวรสารในโลกยุคปัจจุบัน  ได้นิยามความหมายของการประกาศพระวรสาร  กล่าวว่า  การประกาศพระวรสารคือการประกาศพระคริสตเจ้าแก่ผู้ซึ่งไม่รู้จักพระองค์ โดยการเทศน์สอน  การสอนคำสอนและการรับรองศีลล้างบาปและศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ  “สำหรับพระศาสนจักร การประกาศพระวรสารหมายถึง  การนำข่าวดีไปสู่มนุษย์ทุกชนชั้น  และโดยทางอิทธิพลของข่าวดีนี้  จะเปลี่ยนมนุษย์จากภายในและทำให้เป็นคนใหม่”  บัดนี้ข้าพเจ้ากำลังทำให้สิ่งสร้างทั้งมวลให้เป็นสิ่งใหม่  
บทที่ 3     กล่าวถึงเนื้อหาของการประกาศพระวรสาร  มีองค์ประกอบที่สำคัญและรองลงมา   เนื้อหาที่สำคัญคือ  ใจความที่มีชีวิตซึ่งไม่สามารถถูกขยายความหรือละเลย  โดยปราศจากการทำให้ธรรมชาติของการประกาศพระวรสารเจือจางลงอย่างจริงจัง   เนื้อหาที่สำคัญของการประกาศพระวรสารคือ  ความรักของพระเจ้าและการไถ่กู้ของพระเยซูคริสตเจ้า  เพื่อการประกาศพระวรสารก่อนอื่นใด  ต้องเป็นพยานในรูปแบบที่ง่ายและตรงไปตรงมาต่อการเผยแสดงของพระเจ้า  โดยพระเยซูคริสตเจ้า ในพระจิตเจ้าด้วยการเป็นพยานว่าพระบุตรพระเจ้าทรงรักโลก  
-   พระองค์ได้ทรงมอบการเป็นอยู่แก่สรรพสิ่งและได้เรียกมนุษย์ไปสู่ชีวิตนิรันดร การประกาศพระวรสารจะมีอยู่เสมอไป  
-    เป็นรากฐาน, ศูนย์กลางและในเวลาเดียวกันเป็นจุดหมายของชีวิต
-   การประกาศที่ชัดแจ้งว่า ในองค์พระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า  ได้ถูกทำให้เป็นมนุษย์ ผู้ตายและกลับคืนชีพ  การไถ่กู้ได้ถูกมอบแก่มนุษย์ทุกคน  เป็นของขวัญจากความกรุณาและเมตตาของพระเจ้า
บทที่ 4     กล่าวถึงวิธีการของการประกาศพระวรสาร  และแสดงพยานแห่งชีวิต การเทศน์สอนที่มีชีวิต  พิธีกรรมแห่งพระวาจา คำสอน สื่อสารมวลชน การติดต่อระหว่างบุคคลและศีลศักดิ์สิทธิ์  ในฐานะเป็นวิธีการสำหรับการประกาศพระวรสาร  โดยการคำนึงถึงการเทศน์สอน  สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงเน้นว่า  ความเชื่อมาจากสิ่งที่ได้ยิน  ดังนั้นการประกาศพระวรสารด้วยคำพูดยังคงมีเหตุผลที่จะมีอยู่ตลอดไป  ซึ่งเน้นเรื่องการเทศน์ของพระสงฆ์จะยังคงมีคุณค่าต่อสัตบุรุษ
บทที่ 5     แสดงถึงผู้ได้รับประโยชน์ของการประกาศพระวรสาร  บทนี้แสดงให้เน้นถึงการประกาศพระวรสารว่าเป็นการประกาศข่าวดีแก่สิ่งสร้างทั้งปวง (มก.16:15)  ผู้ได้รับประโยชน์ของการประกาศพระวรสารคือ  ผู้ที่ไม่ใช่คริสตชน  ผู้ไม่มีความเชื่อและผู้ไม่ได้ถือปฎิบัติ   จำนวนที่เพิ่มขึ้นของคาทอลิกไม่ได้มากกว่าวัฒนธรรมทางโลกอีกต่อไป   มันได้กลายเป็นวัฒนธรรม  คาทอลิกจำนวนมากได้เมินเฉยต่อเสียงเรียกแห่งศีลล้างบาปของตนเอง  สมเด็จพระสันตะปาปาสนับสนุนพระศาสนจักรให้ เสาะหาวิธีการและภาษาสำหรับการเสนอที่เหมาะสม  หรือเป็นตัวแทนแก่พวกเขาอย่างต่อเนื่อง  ถึงการเผยแสดงของพระเจ้าและความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า
บทที่ 6     กล่าวถึงผู้แทนในการประกาศพระวรสาร  เอกสารแสดงให้เห็นพระสันตะปาปา พระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส ครอบครัวและเยาวชน  ในฐานะงานของการประกาศพระวรสาร  ผู้ประกาศพระวรสารรับใช้ในฐานะเครื่องมือของพระเจ้า  ในการเป็นสื่อข่าวดีแก่ผู้อื่น เพื่อว่าผู้ประกาศ     พระวรสารเป็นเครื่องมือนี้  และประกาศพระวรสารด้วยความไว้ใจและอย่างจริงจัง  สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ยืนยันว่าต้องยึดหลัก 2 ประการนี้ไว้ในใจ    ประการแรก  ผู้ประกาศพระวรสารต้องไม่ถือว่าพันธกิจนี้เป็นอำนาจของเรา  เป็นการริเริ่มของเราหรือของเธอ  เพราะการประกาศพระวรสารโดยพื้นฐานเป็นกิจการของพระเจ้า    ประการที่สอง  ผู้ประกาศพระวรสารต้องกระทำโดยสัมพันธ์กับพระศาสนจักรและผู้อภิบาล (Pastors)
บทที่ 7 และบทสุดท้าย     แสดงให้เห็นจิตวิญญาณของการประกาศพระวรสาร โดยทางอำนาจของพระจิตที่ทำให้คนได้รับพรพิเศษของการเป็นผู้ประกาศพระวรสาร  และงานประกาศพระวรสารจึงถูกทำให้บรรลุผลพระจิตผู้ซึ่งทุกวันนี้เช่นเดียวกับสมัยแรกเริ่มของพระศาสนจักร ได้แสดงในผู้ประกาศพระวรสารทุกคน  ซึ่งได้ยอมให้ตนเองได้รับการดลใจโดยพระองค์  พระจิตได้วางคำพูดที่ริมฝีปากของเขาซึ่งเขาไม่สามารถค้นพบได้ด้วยตนเอง  ในเวลาเดียวกันพระจิตจูงใจวิญญาณของผู้ฟังให้เปิด  รับข่าวดีและพระอาณาจักรที่จะถูกประกาศ
3.2 ความสำคัญของหนังสือการประกาศพระวรสารในยุคปัจจุบัน
การประกาศพระวรสารในโลกยุคปัจจุบัน  ยืนยันว่าการประกาศพระวรสารเป็นมากกว่าการประกาศพระวาจาของพระเจ้าสู่ผู้ไม่มีความเชื่อ   การเทศน์สอนและการสอนคำสอนเป็นงานและรูปแบบของการประกาศพระวรสาร  การเทศน์สอนและการสอนคำสอนเสาะหาการเปลี่ยนแปลงและการกลับใจภายในทั้งสองอย่างเป็นการประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้า  เป็นงานที่สำคัญในพันธกิจของพระศาสนจักร  ทั้ง 2 อย่าง เป็นการแสดงความเชื่อและรูปแบบของความเชื่อ   และทั้งสองนั้นถูกทำด้วย ความเคารพอย่างยิ่งต่อผู้ได้รับการประกาศพระวรสาร  เอกสารชี้ให้เห็นว่าพระศาสนจักรมีหน้าที่ประกาศพระวรสาร”  “ปัจจุบันมีผู้ได้รับศีลล้างบาปจำนวนมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ประกาศยกเลิกการรับศีลล้างบาป  แต่เขาเมินเฉยโดยสิ้นเชิงต่อศีลล้างบาป  และไม่ได้ดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมกับศีลล้างบาป  การประกาศพระวรสารในโลกยุคปัจจุบันรับรองพลังที่ซ่อนเร้นของข่าวดี  ซึ่งสามารถมีพลังต่อความกลัวบาปของมนุษย์   การสอนคำสอนสามารถเปลี่ยนแปลงมนุษย์  การเปลี่ยนแปลงเรียกร้องโดยพระวาจาของพระเจ้า  ด้วยความงามและพลังแห่งการประกาศพระวรสาร  การประกาศพระวรสารได้รับการพรรณนาว่า  เป็นข่าวสารคริสตชนสำหรับประชากรของยุคสมัยนี้”   การประกาศพระวรสารประกอบขึ้นด้วยพันธกิจที่สำคัญของพระศาสนจักร การสอนคำสอนเป็นวิธีการที่ทรงพลังของการประกาศพระวรสาร  ความฉลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเด็กๆ และเยาวชนจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้  ผ่านทางการสอนคำสอนพื้นฐานทางศาสนาอย่างเป็นระบบ  เนื้อหาของความจริงที่มีชีวิตซึ่งพระเจ้าปรารถนาที่จะบอกแก่เรา  และที่ซึ่งพระศาสนจักรได้เสาะหาที่จะแสดงในรูปแบบที่หรูหรายิ่งขึ้นในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์อันยาวนาน

4. การสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน (Catechesi Tradendae ;CT)  – 1979
          เพื่อที่จะให้วิสัยทัศน์ใหม่ของการสอนคำสอน  การประชุมสมัชชาของพระสังฆราชในปี ค.ศ. 1977 ตัดสินใจพิมพ์เอกสารเรื่องเทววิทยาการสอนคำสอน   ผลที่เกิดขึ้นคือสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ประกาศคำแนะนำของพระสันตะปาปา  ชื่อ การสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน  Catechesi Tradendae (CT) ในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ในปีที่ 2 แห่งสมณสมัยของพระองค์ สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ไม่พึงพอใจที่มีแค่เพียงการประชุมสัมชชาเรื่องการประกาศพระวรสารเท่านั้น  พระองค์ได้ทรงเรียกให้มีการประชุมสมัชชาพระสังฆราชสากล ครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 1977 หัวข้อ การสอนคำสอนในยุคสมัยของเรา, โดยเฉพาะแก่เด็กและเยาวชน”  ช่วงปลายของการประชุมสมัชชาของพระสังฆราช  ได้เตรียมเอกสารมีชื่อว่า  “สารถึงประชากรของของพระเจ้า ซึ่งแสดงถึงแนวคิดสำคัญของความรอบคอบ  พระสังฆราชได้ขอร้องสมเด็จพระสันตะปาปาให้พิจารณาคำปรึกษาของพวกท่าน  และเตรียมคำแนะนำของสมเด็จพระสันตะปาปา  “การสร้างงานเสร็จสมบูรณ์เร็วขึ้นโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6    สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการสอนคำสอนสำหรับพระศาสนจักรสากล  และสถานที่ของกิจกรรมนี้ในชีวิตแห่งการอภิบาลของพระศาสนจักร
          เนื่องจากคำร้องขอของการประชุมสมัชชาพระสังฆราชในปี ค.ศ. 1979 สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 เริ่มการเขียนคำแนะนำของพระสันตะปาปา Catechesi Tradendae แต่การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1978 ทำให้การเขียนหยุดชะงักลง  การเขียนได้ดำเนินต่อโดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอล ที่ 1 ผู้สืบตำแหน่งต่อจากพระองค์  หลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 1 การเขียนได้รับการดำเนินต่อโดยผู้สืบตำแหน่งต่อจากพระองค์ คือ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2   และถูกเรียกว่า Catechesi Tradendae   “จุดสำคัญ  คำแนะนำถูกนำขึ้นมาอีก  การไตร่ตรองซึ่งได้เตรียมโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ใช้ประโยชน์มากมายจากเอกสารที่เหลือจากการประชุมสมัชชา  สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 1 ผู้ที่มีความกระตือรือร้นและพรสวรรค์ในฐานะครูคำสอนของท่าน  ทำให้พวกเรารู้สึกพิศวง  ได้นำเอกสารเหล่านั้นติดมือไปและกำลังเตรียมที่จะจัดพิมพ์  แต่ว่าพระองค์ก็สิ้นพระชนม์อย่างกระทันหัน  ดังนั้นข้าพเจ้าได้รับมรดกของพระสันตะปาปาทั้งสองพระองค์นี้ เพื่อตอบรับคำร้องขอซึ่งพระสังฆราชได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง  ในตอนปลายของการประชุมสมัชชาสามัญครั้งที่ 4 ซึ่งได้รับการตอบรับจากสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ในสุนทรพจน์ปิดการประชุมของพระองค์  ข้าพเจ้าทำดังนั้นเพื่อทำให้หน้าที่หลักประการหนึ่งในความรับผิดชอบในตำแหน่งพระสันตะปาปา  การสอนคำสอนได้รับการเอาใจใส่มากในงานของข้าพเจ้า ในฐานะพระสงฆ์และพระสังฆราช
          จุดประสงค์ของการเชิญชวนของพระสันตะปาปาก็คือ โดยทางพระศาสนจักรทั้งมวลควรทำให้ความเชื่อและการดำเนินชีวิตคริสตชนมั่นคงเข้มแข็งขึ้น  ควรทำให้การเริ่มต้นที่พร้อมแล้วมีความแข็งขัน   สดชื่น ควรกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ – ด้วยความรอบคอบที่จำเป็นและควรจะช่วยเผยแพร่ความสุข  ในการนำธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าที่มีต่อโลกไปสู่ชุมชน  หนังสือ Catechesi Tradendae นำเสนอความหมายลึกซึ้งและความสำคัญของการสอนคริสตศาสนธรรม (คำสอน) ในปัจจุบันในบริบทของเรา
4.1 โครงสร้างของ CT
          เอกสารนี้แบ่งออกเป็น 9 บท ซึ่งในสองบทแรกให้พื้นฐานของการสอนคำสอน     บทแรก  คือ พระเยซูเจ้าเป็นศูนย์กลางและอธิบายว่าหัวใจของการสอนคำสอนก็คือ  พระบุคคลของพระเยซูคริสต์   พระองค์เป็นพระบุตรแต่องค์เดียวของพระบิดา... เปี่ยมไปด้วยพระหรรษทานและความจริง  ผู้ซึ่งได้รับความทุกข์ทรมานและสิ้นพระชนม์เพื่อเรา  และผู้ซึ่งปัจจุบันหลังจากเสด็จคืนพระชนมชีพ  สถิตย์อยู่กับเราเสมอไป พระเยซูผู้เป็นหนทาง  ความจริง และชีวิต และการดำเนินชีวิตแบบคริสตชนเกิดจากการดำเนินชีวิตตามพระคริสต์
บทที่ 2    เป็นการฝังรากเกี่ยวกับประเพณีทางประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร 
บทที่ 3 และ 4 พูดเกี่ยวกับสถานที่ของการสอนคำสอนภายในชีวิตของพระศาสนจักร
บทที่ 3    นำเสนอการสอนคำสอนในมิติของการประกาศพระวรสาร ลักษณะเฉพาะของการสอนคำสอนแบบที่แตกต่างจากการกลับใจเข้าเป็นสมาชิกใหม่ – การนำการป่าวประกาศพระวรสาร มีจุดประสงค์ 2 เท่าในการบ่มเพาะความเชื่อขั้นแรก  และการให้การศึกษาสาวกของพระคริสตเจ้า  โดยใช้ความรู้ลึกซึ้งและเป็นระบบมากขึ้นของบุคคลและสารของพระเยซู คริสต์พระเจ้าของเรา  เป้าหมายเฉพาะของการสอนคำสอนเพื่อพัฒนา, ด้วยความช่วยเหลือของพระเจ้า, ความเชื่อขั้นแรกและเพื่อบำรุงชีวิตคริสตชนของคนผู้มีความเชื่อทั้งเด็กและผู้สูงวัย  ให้เจริญสู่ความเต็มเปี่ยมในแต่ละวัย  ในหนังสือ Catechesi Tradandae ได้บรรยายการสอนคำสอนเป็นช่วงหนึ่งในกระบวนการของการประกาศพระวรสาร  และที่เป็นการสนับสนุนในฐานะเป็นหัวข้อหลักในเอกสาร 
บทที่ 4    นำเสนอพระคัมภีร์และธรรมประเพณีเป็นทรัพยากรหลักของการสอนคำสอน   การสอนคำสอนจะดึงเนื้อหาจากแหล่งพระวาจาของพระเจ้าที่ทรงชีวิต  ซึ่งถูกถ่ายทอดในธรรมประเพณีและพระคัมภีร์เสมอๆ เพราะว่าธรรมประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์และพระคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์  ทำให้เกิดมัดจำที่ศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับพระวาจาของพระเจ้า  ซึ่งได้ถูกมอบหมายให้แก่พระศาสนจักร  ได้รับการรำลึกถึงในสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2   ซึ่งปรารถนาให้งานของพระวาจา – การเทศน์สอนในงานอภิบาล  วิชาครูคำสอน  และรูปแบบของการสอนของคริสตชนทั้งหมด  ควรจะทำให้มีเนื้อหาที่อุดมสมบูรณ์และเจริญในความศักดิ์สิทธิ์โดยทางพระวาจาแห่งพระคัมภีร์
บทที่ 5     กล่าวถึงเนื้อหาของการสอนคำสอน  เน้นว่าทุกคนต้องได้รับการสอนคำสอน  ตามคู่มือการสอนคำสอนทั่วไป, Catechesi Tradandae  ก็เน้นเรื่องการสอนคำสอนตามระดับอายุ  ทารก, เด็ก, วัยรุ่น, เยาวชน, ผู้พิการ  เยาวชนที่ไม่ได้การสนับสนุนด้านศาสนา  ผู้ใหญ่และคริสตชนสำรองได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษในฐานะผู้ได้รับประโยชน์จากการสอนคำสอน    
บทที่ 6     กล่าวถึงวิธีการและเครื่องมือในการสอนคำสอน  ตามเอกสาร   เครื่องมือสื่อสาร  การใช้สถานที่หลากหลาย   โอกาสและการรวมตัวกัน  การเทศน์พระคัมภีร์   วรรณคดีเกี่ยวกับคำสอนและหนังสือคำสอน  เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความเชื่อ
บทที่ 7     นำเสนอกระบวนการของการแจ้งการสอนคำสอน  เอกสารรับรองความหลากหลายของกระบวนการในการสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน  สามารถเป็นเครื่องหมายของความสำคัญต่อชีวิตและความฉลาด  อย่างไรก็ดีวิธีการที่เลือกนั้นต้องสอดคล้องกับกฎ  ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของพระศาสนจักรโดยรวม  กฎของความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าและความซื่อสัตย์ต่อมนุษย์  ในทัศนคติของความรักแบบเดียวกัน
ใน 2 บทสุดท้ายเน้นอีกครั้งในเรื่องความสำคัญของการสอนคำสอน ในการสร้างเอกลักษณ์ของคริสตชนและความจำเป็นที่ว่าคริสตชนทุกคนต้องมีส่วนร่วมในงานเกี่ยวกับการสอนคำสอน 
บทที่ 8     กล่าวว่าเราอยู่ในโลกที่มีความยากลำบาก  และในโลกนี้การสอนคำสอนควรจะช่วยคริสตชนให้เป็นแสงสว่างและเกลือ  เพื่อความสุขของตนเองและเพื่อบริการสำหรับทุกคน 
บทที่ 9     กล่าวว่างานแห่งการสอนคำสอนมีส่วนเกี่ยวข้องสำหรับทุกคน  และสมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า  “ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะหว่านความกล้าหาญ  ความหวังและความกระตือรือร้นอย่างมากมายลงในหัวใจของทุกคน  ที่มีความแตกต่างกันอย่างมากมาย  ซึ่งรับผิดชอบในงานการสอนเกี่ยวกับศาสนา  และการฝึกหัดเพื่อชีวิตที่ดำเนินตามพระวรสาร
          4.2 ความสำคัญเกี่ยวกับการสอนคำสอนของ CT
          ใน Catechesi Tradandae การสอนคำสอนได้ถูกนิยามไว้ว่า  “การศึกษาของเด็กๆ เยาวชนและผู้ใหญ่ในเรื่องความเชื่อ  ซึ่งรวมถึงการสอนคำสอนของคริสตชนที่ได้รับการบอกกล่าวโดยทั่วไปในรูปแบบที่ประกอบขึ้นเป็นรูปแบบและเป็นระบบ  ด้วยทัศนะที่จะรับผู้ได้ฟังเข้าสู่ชีวิตคริสตชนที่เปี่ยมด้วยความบริบูรณ์  จุดเน้นของการสอนคำสอนเป็นการสร้างความเชื่อขั้นแรก   Catechesi Tradandae เสนอความคิดรวบยอดของ การสอนคำสอนอย่างเป็นระบบ โดยคำว่าเป็นระบบ   สมเด็จพระสันตะปาปาไม่ได้ทรงหมายถึงการไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน  แต่ออกแบบเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างชัดเจน  ตามเอกสารดังกล่าวการสอนคำสอนเป็นการทำงานของพระศาสนจักร  มิติของการสอนคำสอนที่พระเยซูเจ้าเป็นศูนย์กลางถูกเน้นอย่างเข้มงวด  เอกสารย้ำความต้องการที่จะสนองตอบต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรม  และการพัฒนาการระหว่างประชากร  การสอนคำสอนเป็นงานที่ธรรมดาสำหรับทุกคน  และควรจะได้รับการกล่าวถึงแก่ทุกคน  เหนือสิ่งอื่นใด การสอนคำสอนในยุคสมัยของเราสะท้อนภาพ  ทั้งคู่มือการสอนคำสอนทั่วไปและการประกาศพระวรสารในโลกยุคปัจจุบัน  ของสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6  รูปแบบสะท้อนเอกลักษณ์ของบุคคลซึ่งเป็นผู้เรียน   สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2  เน้นย้ำการสอนคำสอนที่เป็นการให้การศึกษาและเป็นระบบมากกว่าที่พบในเอกสารก่อนหน้านี้    Catechesi Tradendae  เป็นผลผลิตของยุคนั้น ความสำคัญของการรับบุคคลเข้ามาสู่วิถีชีวิตคริสตชน  และกระบวนการทำให้ความเชื่อเติบโตเต็มที่คือการได้ข่าวเอกสารนี้

5. คู่มือสำหรับครูคำสอน (GC) – 1993
          คู่มือสำหรับครูคำสอน (GC)ได้รับการตีพิมพ์โดยสมณกระทรวงเพื่อการประกาศพระวรสารสู่ปวงชน  ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1993  หลังจากการพิมพ์หนังสือคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก  และ CCC ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงของผู้มีอำนาจ   ในหนังสือคู่มือสำหรับครูสอนคำสอน   เอกสารกล่าวถึงหัวข้อธรรมชาติ บทบาท หน้าที่และการสร้างครูสอนในพื้นที่ทำงาน   เอกสารนี้ได้รับการแนะนำให้แก่ครูคำสอนที่เป็นฆราวาสเป็นอันดับแรก  และแก่พระสังฆราช  พระสงฆ์  นักบวช  ผู้ฝึกหัดและสัตบุรุษ  เพราะว่าการเชื่อมโยงที่เข้มแข็งระหว่างองค์ประกอบของชุมชนพระศาสนจักร  แต่ว่ามีผู้เข้าชมมากกว่าบุคลากรที่ทำงาน ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานสอนคำสอน  สามารถเรียนรู้จากปรีชาญาณที่นำไปปฎิบัติได้  คู่มือสำหรับครูคำสอนเป็นผลจากการประชุม   เมื่อ 27 – 30 เมษายน ค.ศ. 1992  ซึ่งจัดขึ้นโดยสมณกระทรวงเพื่อการประกาศพระวรสารสู่ปวงชน   จากข้อมูลและคำแนะนำซึ่งมาจากการปรึกษากับพระสังฆราช  และศูนย์คริสตศาสนธรรมในดินแดนที่ทำงานอย่างกว้างขวาง  สมณกระทรวงเพื่อการประกาศพระวรสารสู่ปวงชนเขียนคู่มือสำหรับครูคำสอนขึ้นมา  บรรยายเกี่ยวกับคำสอน  ความมีอยู่และวิธีการปฎิบัติ  บรรยายประเด็นหลักของกระแสเรียกของครูสอนคำสอน  เอกลักษณ์  ชีวิตจิต  การเลือกและการฝึกหัดงานแพร่ธรรม  งานอภิบาลและค่าตอบแทน  ตามด้วยความรับผิดชอบของประชากรของพระเจ้า  ต่อพวกเขาในเงื่อนไขของปัจจุบันกาลและในอนาคตอันใกล้
จุดประสงค์ของคู่มือสำหรับครูสอนคือ  การเปลี่ยนโครงการเกี่ยวกับคำสอนของระดับชาติและสังฆมณฑล  ในบทนำของเอกสารได้กล่าวถึงจุดประสงค์อย่างชัดเจน  คู่มือจะถูกใช้เป็นหนังสืออ้างอิงจะเป็นแหล่งของความเป็นเอกภาพ  และการสนับสนุนสำหรับครูคำสอน  โดยผ่านทางพวกเขาสำหรับชุมชน คริสตชน  สมณกระทรวงเพื่อการประกาศพระวรสารสู่ปวงชน  จึงได้เสนอต่อสภาพระสังฆราชและพระสังฆราชแต่ละองค์  ในการเป็นความช่วยเหลือชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักรของครูคำสอน  และเป็นพื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนโครงการและผู้อำนวยการคำสอนระดับชาติและสังฆมณฑล
          5.1 โครงสร้างของ GC
          คู่มือสำหรับครูคำสอนแบ่งออกเป็น 3 ตอน โดยมีบทนำและบทสรุปสั้นๆ ตอนที่สำคัญที่สุดของเอกสารคือ ตอนแรกที่มีชื่อว่าอัครสาวกที่เคยเกี่ยวเนื่องกัน คาทอลิกทุกคนที่ได้รับศีลล้างบาปถูกเรียกจากพระจิตเจ้าให้ประกาศข่าวดี  และนอกเหนือจากกระแสเรียกทั่วไปนี้แล้ว  ครูคำสอนได้รับการเรียกเป็นการเฉพาะเจาะจงโดยพระพรพิเศษ  โดยพระศาสนจักรรับรองและยืนยันโดยอำนาจของพระสันตะปาปา  ครู   คำสอนไม่ใช่เป็นตัวแทนธรรมดาของพระสงฆ์  แต่โดยสิทธิเป็นพยานของพระคริสตเจ้าในชุมชน ความสำเร็จในพันธกิจของครูคำสอนขึ้นอยู่กับความลึกซึ้งในชีวิตจิต  พระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2  ธรรมทูตที่แท้จริงคือนักบุญ  สามารถประยุกต์ได้โดยไม่ลังเลกับครูคำสอน   เช่นเดียวกับสัตบุรุษทุกคน  ครูคำสอนถูกเรียกให้ไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ และพันธกิจ  เช่น มีชีวิตอยู่โดยไม่มีกระแสเรียกของตน ด้วยความกระตือรือร้นของนักบุญ’ ”  ครูคำสอนควรได้รับการฝึกหัดในการเสวนา  การเข้าถึงวัฒนธรรม  และการฟื้นฟูเอกภาพคริสตศาสนจักร   คู่มือครูสอนคำสอนกำหนดรายละเอียดการพัฒนามนุษย์ และเน้นสำหรับคนยากจน  รวมถึงเจตนารมณ์ของการฟื้นฟูพระคริสตศาสนจักร  และการเสาวนากับศาสนาอื่นในขอบเขตซึ่งครูสอนคำสอนควรตระหนัก
          ตอนที่ 2  ของเอกสารกล่าวถึงทางเลือกและการหล่อหลอมครูสอนคำสอน   เอกสารได้ให้หน้ากระดาษจำนวนมากในเรื่องการหล่อหลอมครูสอนคำสอน  ภาษาที่รุนแรงถูกใช้เพื่อเน้นความต้องการการฝึกหัดที่มีคุณภาพและการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง   ความจริงมีว่าบุคคลไม่ควรหยุดการพัฒนาภายใน  ธรรมชาติที่มีพลังของศีลล้างบาปและศีลกำลัง  กระบวนการของการสนทนาอย่างต่อเนื่องและการเติบโตในความรักงานแพร่ธรรม  การเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิธีการสอนที่พัฒนาให้ทันสมัยไม่หยุดยั้ง  ทุกวิธีการที่ผู้ปลูกฝังความเชื่อควรจะเกาะติดในการปลูกฝังต่อเนื่องในระหว่างที่ให้บริการ   ตลอดหลักสูตรซึ่งควรจะครอบคลุมเรื่องมนุษย์  ชีวิตจิต  คำสอนและการปลูกฝังงานแพร่ธรรม  และพวกเขาควรจะได้รับการช่วยเหลือในสิ่งนี้  ไม่ใช่เพียงแต่ปล่อยให้เป็นแนวคิดของเขาเอง
ตอนที่ 3  กล่าวถึงความรับผิดชอบต่อครูคำสอน  ครูคำสอนควรได้รับการเคารพและความซาบซึ้งใจ  และขึ้นอยู่กับของเขตการบริการของเขา พวกเขาควรได้รับค่าตอบแทน ซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องของความยุติธรรมไม่ใช่ความกรุณา  คู่มือครูคำสอนยอมรับว่าปัญหาของค่าตอบแทนต้องได้รับการแก้ไข โดยพระศาสนจักรท้องถิ่นแต่ต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง  คู่มือเรียกร้องให้เราใส่ใจต่อสถานการณ์ทางสังคมที่หลากหลาย  และหลักปฎิบัติที่ใช้อยู่ของพระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ  “ครูคำสอนในสนามงานไม่เพียงแต่จะแตกต่างจากพระศาสนจักรในยุคก่อนหน้าเท่านั้น  แต่ในระหว่างพวกเขาเองมีความแตกต่างทางด้านบุคลิกลักษณะและการแสดงออกอย่างมาก
          สรุปสั้นๆ  GC  ยืนยันว่าครูสอนมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการประกาศและบำรุงความเชื่อ  ควรเอาใจใส่ในการเตรียมครูคำสอน   พระศาสนจักรที่ให้ความสนใจต่อความหมายของเอกสารนี้และได้พัฒนาการตอบสนองของท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรมต่อการแนะนำ  จะเป็นประภาคารที่ส่องแสงไปยังทุกคนที่ต้องการเห็น
5.2 ความสำคัญของการสอนคำสอนของ GC
          คู่มือครูสอนคำสอนมีความสำคัญอย่างมากในงานสอนคำสอน  แม้ว่าเอกสารนี้จะถูกเขียนโดยสมณกระทรวงแห่งการประกาศพระวรสารสู่ปวงชน  สำหรับครูคำสอนในสนามงาน  หลักการของเอกสารที่เชื่อถือได้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้สำหรับครูคำสอนทุกคนในพระศาสนจักร   เอกสารยืนยันว่าการสอนคำสอนเป็นงานหลักของพระศาสนจักร  ครูคำสอนเป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบเป็นเบื้องต้นในงานนี้ เน้นย้ำการอบรมในการพัฒนาครูคำสอนให้มีพรสวรรค์ที่เปี่ยมด้วยเจตนารมณ์  ตลอดทั่วภาษาของเอกสารให้คะแนนความสำคัญของงานครูคำสอนต่ำเกินไป  ลักษณะเด่นเฉพาะตัวเป็นที่ต้องการอย่างมากและ แน่นอน ครูคำสอนมักจะมีบทบาทสำคัญมากในการประกาศพระวรสารของฆราวาส   แม้ในปัจจุบันพวกเขาถือว่าเป็นผู้ประกาศพระวรสารที่ไม่มีใครสามารถแทนที่ได้  ตามที่สมณสาสน์พระพันธกิจของพระผู้ไถ่  (Redemptoris Missio)  กล่าวไว้อย่างถูกต้อง   การใช้คู่มือคำสอนด้วยความขยันและศรัทธาในพระศาสนจักรทั้งมวลขึ้นอยู่กับหน่วยงาน  (Dicastery)  การแพร่ธรรมของเราจะช่วยไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของครูสอนคำสอน  แต่ยังรับประกันการเจริญเติบโตที่ตกลงร่วมกันในภาคส่วนนี้ที่มีความสำคัญมากสำหรับอนาคตของพันธกิจในโลก  หลักการของคู่มือสำหรับครูคำสอนเป็นคู่มือที่เชื่อถือได้สำหรับชุมชนท้องถิ่นใดๆ ก็ตาม

6. คู่มือทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน  (GDC– 1997


คู่มือทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน  ถูกพิมพ์เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1997 และได้รับการเตรียมการโดยสมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์  เอกกสารนี้เป็นการปรับปรุงคู่มือการสอนคำสอนทั่วไปซึ่งพิมพ์ในปี ค.ศ. 1971  การปรับปรุงนี้เป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากว่าการพิมพ์คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกในปี ค.ศ. 1992 และ ระยะเวลา 30 ปี ระหว่างการสรุปของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 และจุดเริ่มต้นของสหสวรรษที่ 3 การพิมพ์หนังสือคำสอนพร้อมกับการแทรกแซง-ที่กล่าวไว้ล่วงหน้าของอำนาจการสอน             ในพระศาสนจักร  ทำให้จำเป็นต้องปรับปรุงคู่มือการสอนคำสอนทั่วไป  เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนเครื่องมือเทววิทยาเรื่องการอภิบาลที่มีคุณค่านี้  ให้เข้ากับสถานการณ์และความจำเป็นใหม่   เป็นการบริการต่อพระศาสนจักรโดยรวม  ซึ่งสันตะสำนักเสาะหาเพื่อตรวจเทียบมรดกนี้และเพื่อจัดการอย่างเป็นระบบ  เพื่อใช้ประโยชน์ในจุดประสงค์เกี่ยวกับการสอนคำสอน
          งานปรับปรุงคู่มือทั่วไปสำหรับการสอนคำสอนนี้  เริ่มงานโดยสมณกระทรวงเพื่อพระสงฆ์โดยคณะพระสังฆราชและผู้เชี่ยวชาญในด้านเทววิทยาและการสอนคำสอน  ในการปรับปรุงคู่มือทั่วไปนี้ได้รับการเอาใจใส่ในเรื่องแรงบันดาลใจและเนื้อหาดั้งเดิม  สภาพระสังฆราชและผู้เชี่ยวชาญได้รับการปรึกษาในฐานะสถาบันและศูนย์กลางหลัก  เกี่ยวกับการสอนคำสอนในรูปแบบปัจจุบัน  คู่มือทั่วไปสำหรับการสอนคำสอนเสาะหาที่จะมาถึงจุดสมดุลระหว่างหลักการสำคัญ  2 ประการ   ด้านหนึ่งคือ เนื้อหาของการสอนคำสอนในการประกาศพระวรสารซึ่งคิดโดย Evangelii  Nuntiandi อีกด้านหนึ่งคือความเหมาะสมของเนื้อหาของความเชื่อ   ความที่นำเสนอในหนังสือคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก  คู่มือได้กล่าวถึงพระสังฆราชและบุคคลผู้รับผิดชอบต่อการสอนคำสอนเป็นส่วนใหญ่   กล่าวด้วยว่าคู่มือที่ได้รับการปรับปรุงใช้ประโยชน์เพื่อการอบรมบุคคลซึ่งเตรียมตัวบวชเป็นพระสงฆ์  ในการอบรมพระสงฆ์อย่างต่อเนื่องและในการอบรมครูสอนคำสอน
จุดประสงค์ของคู่มือนี้เหมือนกับคู่มือการสอนคำสอนทั่วไปในปี ค.ศ. 1971 พยายามที่จะจัดเตรียมหลักการเทววิทยาเรื่องการอภิบาลพื้นฐาน  ซึ่งนำมาจากอำนาจการสอนในพระศาสนจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้รับการแนะจากสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ซึ่งสามารถมุ่งเน้นและจะสานกิจกรรมอภิบาลของหน้าที่การประกาศข่าวดีได้ดียิ่งขึ้น  และการสอนคำสอนที่เห็นได้ชัดๆ รองลงมาคือ  “ตอนท้ายสุดของคู่มือเพื่อช่วยเป็นส่วนประกอบของคู่มือการสอนคำสอนและหนังสือคำสอน
6.1 โครงสร้างของ GDC
          คู่มือการสอนคำสอนทั่วไปรักษาโครงสร้างพื้นฐานของคู่มือการสอนคำสอนของปี ค.ศ. 1971 คู่มือการสอนคำสอนทั่วไปแบ่งเป็น 6 ตอน โดยมีบทนำและบทสรุปสั้นๆ   บทนำ  เริ่มต้นจากความเชื่อและความไว้ใจในพลังแห่งเมล็ดพันธุ์พระวาจา  แนวทางจุดประสงค์เพื่อการตีความและความเข้าใจมนุษย์และบริบทของพระศาสนจักร  
ตอนที่ 1 แสดงการสอนคำสอนในพันธกิจการประกาศพระวรสารของพระศาสนจักร ตอนนี้แบ่งออกเป็น 3 บท การสอนคำสอน, เหนือสิ่งอื่นใด, ในเอกสารสภาสังคายนา  เรื่องการเผยพระวาจา (Conciliar Dei Verbum)  โดยวางในเนื้อหาของการประกาศพระวรสารดังที่เห็นใน Evangelii Nuntiandi ; และ Catechesi Tradendae และนอกเหนือจากนั้นจุดประสงค์เพื่อทำให้ธรรมชาติของการสอนคำสอนกระจ่างชัด  
ตอนที่ 2 กล่าวถึงสารแห่งพระวาจาซึ่งประกอบไปด้วย 2 บท    บทที่ 1  ซึ่งมีชื่อว่าบรรทัดฐานและเกณฑ์สำหรับการแสดงสารแห่งพระวาจาในการสอนคำสอน  ผลักดันให้เนื้อหาทั้งหมดของบทที่สอดคล้องกันของเนื้อหาก่อนหน้าจากมุมมองใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงคืบหน้า    บทที่ 2  ซึ่งใหม่ทั้งหมด, เหมาะสมที่จะใช้แสดงหนังสือคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก   เพื่อเป็นจุดอ้างอิงสำหรับการถ่ายทอดความเชื่อในการสอนคำสอน  และเพื่อการเตรียมหนังสือคำสอนในระดับท้องถิ่น  บทนี้ยังให้ขอบข่ายของหลักการพื้นฐานเพื่อใช้ในการรวบรวมหนังสือคำสอนในพระศาสนจักรท้องถิ่นเป็นการเฉพาะ 
ตอนที่ 3 กล่าวถึงวิชาการสอนความเชื่อ  ตอนนี้แบ่งเป็น 2 บท และบทแรกเป็นวิชาการสอนเกี่ยวกับพระเจ้า  ทรัพยากร และรูปแบบของการสอนความเชื่อ  และบทที่สองชื่อว่า  “องค์ประกอบของระเบียบแบบแผน ตอนนี้ได้ถูกปรับปรุงเพื่อกำหนดองค์ประกอบหลักของวิธีการสอนความเชื่อ  ซึ่งได้รับการดลใจโดยวิธีการสอนที่มาจากพระเจ้า  ในขณะที่คำถามนี้ในเบื้องต้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทววิทยา  แต่ก็เกี่ยวข้องกับมนุษย์ศาสตร์ ด้วย    
ตอนที่ 4  มีชื่อว่าบุคคลที่ต้องได้รับการสอนคำสอน ในบทสั้นๆ 5 บท ซึ่งให้ความสนใจต่อสถานการณ์และบริบทที่แตกต่างกันของบุคคลที่จะได้รับการสอนคำสอน   ต่อเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ทางสังคมศาสนา  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคำถามเรื่องการเข้าถึงวัฒนธรรม 
ตอนที่ 5  เน้นเรื่องศูนย์กลางของพระศาสนจักรแต่ละแห่งเป็นการเฉพาะและหน้าที่ลำดับต้นๆในการสนับสนุน   จัดการ    ตรวจตรา   และประสานงานกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการสอนคำสอน   ความสำคัญพิเศษคือการอธิบายบทบาทที่เหมาะสมให้แก่ผู้แทนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอนคำสอน (ผู้ซึ่งแน่นอนที่สุด,ต้องขึ้นอยู่กับพระสงฆ์ของแต่ละพระศาสนจักร)  และข้อกำหนดที่จำเป็นสำหรับการอบรมตามลำดับ
บทสรุป  สนับสนุนการเพิ่มกิจกรรมการสอนคำสอนในยุคสมัยของเรา  สรุปด้วยการวอนขอความเชื่อจากการทำงานของพระจิตเจ้า  และการบรรลุผลดีของการหว่านพระวาจาของพระเจ้าด้วยความรัก
6.2 ความสำคัญเกี่ยวกับการสอนคำสอนของ GDC
          คู่มือทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน  แสดงถึงการสอนคำสอนในฐานะเป็นศาสนบริการด้านพระวาจา  ซึ่งปรากฏออกมาจากการเผยแสดงของพระเจ้า  เอกสารยืนยันว่าการสอนคำสอนเป็นความสำคัญในกระบวนการของการประกาศพระวรสาร  และคำบรรยายนี้เป็นการสนับสนุนที่สำคัญ   กระบวนการในการประกาศพระวรสารไม่เพียงแต่รวมถึงประกาศพระวาจาของพระเจ้าไปยังผู้ไม่มีความเชื่อเท่านั้น  แต่ยังเป็นพยานของคริสตชน การเสวนา และการแสดงความกรุณา  การประกาศวาจาของพระเจ้าและการเรียกให้กลับใจ การเตรียมตัวเป็นคริสตชนและการรับเข้าเป็นคริสตชน  การก่อตั้งชุมชนคริสตชนโดยใช้วิธีการของศีลศักดิ์สิทธิ์และศาสนบริกร  ในความเห็นพ้องกับเอกสารของพระศาสนจักรก่อนหน้านี้   GDC แสดงให้เห็นเป้าหมายของการสอนคำสอนเพื่อการกลับใจและเสริมสร้างความเชื่อ   การสอนคำสอนบรรลุเป้าหมายโดยผ่านทางงานหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกัน  ซึ่งบรรยายในลักษณะของการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับความเชื่อ การศึกษาเกี่ยวกับพิธีกรรม   การอบรมด้านศีลธรรม  การสอนให้สวดภาวนา  การรับเข้าเป็นคริสตชนและการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตและพันธกิจของชุมชน  ซึ่งให้ความสำคัญกับการสอนคำสอนผู้ใหญ่และกล่าวว่าเป็นรูปแบบสำคัญของการสอนคำสอน  การสอนคำสอนเป็นข้อกำหนดของพระศาสนจักร  เป็นงานของพระศาสนจักรซึ่งพระศาสนจักรทั้งมวลเรียกร้องให้ตนเองกลับใจ  และเริ่มต้นชีวิตคริสตชนใหม่  สัญลักษณ์ของการสอนคำสอน  แหล่งที่มาคือองค์พระเยซูคริสตเจ้า  คู่มือให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงวัฒนธรรมของข่าวดีของพระวาจาและตอบรับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของบุคคลที่ได้รับการสอนคำสอน
คู่มือทั่วไปสำหรับการสอนคำสอนแสดงให้เห็นงานพื้นฐานของการสอนคำสอน  ในฐานะของการช่วยเหลือชุมชนคริสตชนในการฉลองและไตร่ตรองธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้า  งานนี้สามารถทำได้โดยการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับความเชื่อ  การศึกษาพิธีกรรม  การสร้างศีลธรรมและการสอนให้สวดภาวนา   สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน   เมื่อการสอนคำสอนละเลยองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไป  ความเชื่อแบบคริสตชนจะไม่บรรลุการพัฒนาอย่างเต็มที่  งานแต่ละอย่างเหล่านี้ต้องการคำสัญญาในการประกาศพระวรสารของโลก  คู่มือที่ได้รับการปรับปรุงนี้แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของธรรมชาติการสอนที่มีค่าและเต็มเปี่ยม  และท้าทายชุมชนคาทอลิกทั้งหมดให้เข้ามาร่วมมือกัน
………………………………………………………………………………………………………………
แปลจากหนังสือ  Introduction to Catechetics :  บทที่ 13  Catechetical Documents of the Church  
หน้า 201-220โดย...อาจารย์สมศรี มธุรสสุวรรณ    ตรวจทานโดย...พระสังฆราชวีระ อาภรณ์รัตน์